วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หวัด..เป็น..หวัด


หวัด...จ้าหวัด..ใครก้อไม่อยากเป็น เพราะรำคาญ หายใจลำบาก เจ็บคอ น้ำมูกเยอะ ปวดหัว ตัวร้อน มาเป็นขบวนเลย..ความรู้นี้ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ แต่เพิ่งอ่านเจอ เมื่อกี้นี้(๒๑.๐๐ น. ๒๗ ตค.)รีบมาบันทึก..เดี๋ยวลืม..ถ้าอยากห่างไกลหวัด ให้วนเวียนกินเมนูเหล่านี้..เอาพอประมาณนะ..อย่ากินจนพุงโต..อาหารต้านหวัดที่คุณหมอแนะนำมี ๕ อย่าง ได้แก่....พะโล้....ซุปไก่.
...ต้มยำที่มีสมุนไพรเยอะๆๆ ก้อข่าตะไคร้ใบมะกรูดหอมแดง....เนื้อปลา...กล้วยค่ะ..โดยเฉพาะ..กล้วยน้ำว้า..แต่ไม่มีก้อกล้วยอื่นๆแล้วกัน..เข้าท่านิ..กินได้ตลอดละ..หมอว่า..มีกระสายยาอยู่ในอาหารพวกนี้เยอะ..เอาไว้สำหรับฆ่าเชื้อตัวเล็กๆๆพวกนี้โดยตรง..สงสัย..ไม่มีใครเป็นหวัดละทีนี้..ขอให้โชคดี

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เจ้าพารา


เจ้าพารา คือพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปที่แม่ฮ่องสอนเป็นแบบไทยใหญ่ เราก้อเป็นคนไทย เป็นไทยที่ใหญ่ด้วยนะ พระพุทธรูปจะมีฉัตร มีบัลลังค์แบบสวยงามเสมอ หน้าพระพทุธรูปจะมีโตก หรือพานใช้วางดอกไม้ที่คนนำมาบูชา ในกรณีที่พิเศษ ก้อมี "อุ๊ปเจ้าพารา"ด้วย มองดูที่บูชาพระทั้งหมดเมื่อไร ก้อสบายใจ สงบ สว่าง เมื่อนั้น แต่อย่างว่าละนะ ความเคยชินของใครอย่างไร ก้อต้องว่าสวย ว่าดีละ ภูมิใจนำเสนอเช่นกัน ไม่ได้กลับบ้านช่วงเทศกาลมานาน ..คราวนี้เลยเสนอให้จุใจ...

อุ๊ปเจ้าพารา


อุ๊ปที่ว่านี่คือของที่ทำถวายพระพุทธเจ้า หน้าตาเป็นอย่างที่เห็น ไม่ได้ทำเองนะ คนที่ชำนาญการเขาทำให้ เพื่อประกอบการทำบุญที่เรียกว่าแฮนซอมโก่จา ที่ดีใจและปลื้มใจจนต้องนำเสนอ เพราะแค่เจ้าภาพไปบอกว่าวันที่ 14 ตุลาคมนี้จะแฮนซอมโกจาให้พ่อเติม ผู้ที่มีฝีมือหลายๆคนบอกจะมาช่วยจัดให้ มาโดยไม่ต้องเชิญหรือขอร้อง เขามาทำให้เพราะเชื่อว่าได้บุญมากหนึ่ง ทำให้คนที่รู้จักมักคุ้นอีกหนึ่ง เป็นประเพณีร่วมด้วยช่วยกันที่ดีมากๆๆๆ แต่..คนที่มาอายุ 60 up ..แล้วอีกไม่นาน การช่วยงานอย่างนี้คง...หายไป..ตามกาลเวลา..เจ้าภาพก้อสนุกนะ..จะเลี้ยงอาหารแบบใดดี ? ทำไหวไหม? ภาชนะที่จะใช้..ไปยืมจานชามที่วัด หรือรื้อ ออกมาล้าง.เป็นความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน..แล้วชิ้นงานที่ออกมา..สวย..ตามใจคนทำ..คนสมัยนี้ได้แต่..เหรอ..ทุกอย่างเป็นอนิจจัง..

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แฮนซอมโก่จา


แค่เห็นหัวเรื่อง..งู..ก้อเลื้อยตามกันมาเป็นแถวๆๆๆๆ..เฉลย..แฮน คือ จัดเตรียม ...ซอม คือ อาหาร...โก่จา คือ ครั้งสุดท้าย..เป็นประเพณีหลังการตายที่ต้องทำ มิได้มีแต่อาหารนะ..แต่เครื่องประกอบน่ะ..เพียบ..ต้องมีแบบการทำบุญน่ะแหละ..ที่
พิเศษ คือต้องมี ตุง (ธง) เป็นความเชื่อว่าถ้าลูกหลานไม่ทำให้ผู้ตาย..จะโดนแช่ง..ไม่รู้ว่าคนตายแช่ง..หรือคนอื่นๆในสังคมแช่ง.ไม่ว่าอย่างไรจะแช่งจะสรรเสริญ..เราชาวพุทธไม่ควรจะหยุดอยู่เฉย..ทำบุญ ๆๆๆๆๆๆ..ดีต่อตัวเองแหละ..อ้อ..พิธีนี้ทำได้เฉพาะวันขึ้น ๑ ค่ำ - ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เท่านั้น จะตายวันออกพรรษา ก้อต้องรอพิธีนี้ตามกำหนด..คือทำได้ปีละครั้ง และครั้งเดียวเท่านั้นสำหรับผู้ตาย..งี้ละมัง..ใครไม่ทำย่อมเป็นจำเลยของสังคม..แต่ปัจจุบัน.ก้อมีการกลายพันธ์ไปเหมือนกัน..อนิจจัง..ไม่เที่ยง